ภาพรวมองค์กร

จังหวัดอุดรธานี เป็นศูนย์กลางพื้นที่อีสานตอนบนและประตูสู่ GMSที่มี ความสำคัญในการกระจายสินค้าสู่หลายจังหวัดในประเทศไทยรวมถึงฝั่ง สปป.ลาว กลุ่มประเทศ CLMV และประเทศจีนตอนใต้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2559 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการจัด ตั้งนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวในจังหวัดอุดรธานี เพื่อรองรับการขยายตัว ของภาคอุตสาหกรรมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท เมือง อุตสาหกรรมอุดรธานีจำกัด ได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีซึ่งเป็น นิคมฯร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ตั้ง อยู่ที่ ตำบลโนนสูง และตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีขนาด พื้นที่โครงการประมาณ 2,200 ไร่ โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็น อุตสาหกรรมสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมปัจจุบันได้รับความ เห็นชอบ EIA จาก สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว อยู่ระหว่างการขอจัดสรรที่ดินและเตรียมการก่อสร้างระบบ สาธารณูปโภค โดยคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ ตั้งแต่ต้นปี2561 เป็นต้นไป

ซึ่งเป็นนิคมฯร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตั้งอยู่ที่ ตำบลโนนสูง และตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี ขนาดพื้นที่โครงการประมาณ 2,200 ไร่ โดยมีอุตสาหกรรมเป้า หมายเป็นอุตสาหกรรมสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน ได้รับความเห็นชอบ EIA จาก สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว อยู่ระหว่างการขอจัดสรรที่ดินและเตรียมการ ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค โดยคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ ตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นไป

บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด โดยนายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานกรรมการ ได้ปรับโครงสร้างบริหารงานของบริษัทฯ เพื่อรองรับ การขยายตัวของธุรกิจในอนาคต จึงได้เรียนเชิญ นายเสนีย์ จิตตเกษม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดัน โครงการดังกล่าว มาดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยการดำเนินงานต่อไปของคณะกรรมการ บริหารบริษัทฯภายใต้การนำของนายเสนีย์ จิตตเกษม คือ การนำศักยภาพ ด้านทำเลที่ตั้งของนิคมฯอุดรธานี ที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภาค อีสานตอนบน เนื่องจากอยู่ใกล้แนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก -ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) อีกทั้งนิคมฯอุดรธานี มีพื้นที่กว่า 400 ไร่ อยู่ติดกับแนวรางรถไฟสาย กรุงเทพฯ-หนองคาย ที่มีแผนพัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้าทางราง (Distribution Center : DC) เพื่อเป็นคลังสินค้าของกลุ่มภาคอีสานตอนบน และรองรับการขนส่งสินค้า นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากจีนตอนใต้โดยใช้รถไฟความเร็วสูง (High – speed Train) ตามเส้นทาง One Belt One Road สายเหนือ-ใต้ จากจีน ตอนใต้ผ่านลาวเข้าสู่ไทย ผ่านอุดรธานีเชื่อมโยงถึงท่าเรือแหลมฉบัง ถือ เป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมจากจีนสู่ CLMVT (กัมพูชา ลาว ไทย เมียนมาร์ และเวียดนาม) และมุ่งสู่พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC ซึ่งเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม ที่สำคัญของประเทศ